วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ฝรั่ง : ขุมทรัพย์แห่งวิตามินซี


ฝรั่ง
ฝรั่ง


ส่วนประกอบของฝรั่ง

น้ำ
76.1 %
แคลเซียม
0.01 %
โปรตีน
1.5 %
ฟอสฟอรัส
0.04 %
ไขมัน
0.2 %
ธาตุเหล็ก
1 มิลลิกรัม / 100 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
14.5 %
300 มิลลิกรัม / 100 กรัม


คุณสมบัติ
           ฝรั่งมีรสชาติอร่อย ฝาด และหวาน ช่วยเสริมสร้างน้ำอสุจิ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก มีความเย็นและช่วยรักษาระดับการไหลเวียนของน้ำดี ช่วยให้เจริญอาหาร บรรเทาอาการแสบร้อน รักษาอาการกระวนกระวายประสาทหลอน ลดอาการจิตไม่ปกติ ลดการกระหายน้ำ แก้อาการท้องผูกและฆ่าพยาธิในลำไส้
    ฝรั่งประกอบด้วยวิตามินซี มากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ รองจากมะขามป้อมเมื่อฝรั่งสุกและนุ่มขึ้น วิตามินซี จะค่อยๆลดลง ส่วนเปลือกและเนื้อในที่ติดกับเปลือกของฝรั่งเป็นแหล่งที่อุดมด้วยวิตามินซี

การใช้ประโยชน์
    ควรรับประทานฝรั่งโดยการเคี้ยวให้ละเอียด แต่ถ้าดื่มน้ำฝรั่งที่เป็นน้ำผลไม้จะได้รับสารอาหารมากกว่า   ทุกๆปริมาตร 100 มิลลิลิตรของน้ำฝรั่งจะประกอบด้วยวิตามินซีถึง 70-170 มิลลิกรัม

คุณประโยชน์
          ฝรั่งมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการท้องผูก โรคเรื้อน ช่วยฟอกเลือด และบรรเทาโรคภัยอื่นๆได้

แหล่งอ้างอิง
- หนังสือน้ำผักผลไม้รักษาโรค (ดร.ไดเรน กาลา เขียน , พรพรรณ ศรีคัฒนพรหม แปล)
- รูปภาพสวยๆจากโลกไซเบอร์

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทับทิม : บรรเทาอาการเจ็บหัวใจ


ส่วนประกอบของทับทิม

น้ำ
78 %
ฟอสฟอรัส
0.07 %
โปรตีน
1.7 %
ธาตุเหล็ก
0.03 มิลลิกรัม / 100 กรัม
ไขมัน
0.1 %
วิตามินบี 2
10 มิลลิกรัม / 100 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
14.5 %
16 มิลลิกรัม / 100 กรัม
แคลเซียม
0.01 %



คุณสมบัติ
      ทับทิมมี 3 รส คือ หวาน เปรี้ยวอมหวาน และเปรี้ยวหวานอมฝาด ทับทิมหวานจะดีต่อสุขภาพที่สุด ทับทิมมีรสชาติอร่อย เบา เป็นยาสมานแผล ลดการถ่ายท้องและช่วยหล่อลื่น ลำรุงสมอง ให้ความชุ่มชื้นกับร่างกายและบรรเทาความหิว ในทางอายุรเวทเชื่อว่าทับทิมมีคุณสมบัติในการรักษาสาเหตุแห่งโรคทั้ง 3 คือ ลม น้ำดี เสมหะ นอกจากนี้ยังมีคุณประโยชน์ในการบรรเทาอาการกระหายน้ำ รักษาอาการปวดแสบปวดร้อน อาการไข้ โรคบิด เพิ่มเลือดและเพิ่มความมีชีวิตชีวา
      น้ำตาลที่อยู่ในทับทิมเป็นน้ำตาลที่ยังไม่ผ่านการย่อยและมีซูโครสอยู่เพียงร้อยละ 0.15

การใช้ประโยชน์
      สกัดน้ำทับทิมเป็นน้ำผลไม้โดยนำเมล็ดใส่ผ้าขาวบางที่สะอาดแล้วคั้นเอาน้ำ ทับทิมหวานเท่านั้นจึงจะมีคุณสมบัติทางยา ทับทิมสามารถบรรเทาอาการไข้ได้ทุกประเภท นอกจากนี้ยังให้สารบำรุงร่างกายโดยที่ระบบย่อยไม่ต้องทำงานหนัก

คุณประโยชน์
      ทับทิมเป็นยาบำรุงหัวใจและบรรเทาอาการเจ็บหัวใจ ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับเส้นเสียงและโรคในช่องปาก บรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนในกระเพาะอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร บรรเทาอาการโลหิตจาง รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด และอาการไอ

แหล่งอ้างอิง
- หนังสือน้ำผักผลไม้รักษาโรค (ดร.ไดเรน กาลา เขียน , พรพรรณ ศรีคัฒนพรหม แปล)
- รูปภาพสวยๆจากโลกไซเบอร์

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แตงโม : แก้กระหายน้ำ



ส่วนประกอบของแตงโม

น้ำ
95.7 %
ฟอสฟอรัส
 0.01 %
โปรตีน
0.1 %
ธาตุเหล็ก
0.2 มิลลิกรัม / 100 กรัม
ไขมัน
0.2 %
ไนอาซิน (วิตามินบี 3)
0.2 มิลลิกรัม / 100 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
3.8 %
วิตามินบี 1
2 ไมโครกรัม / 100 กรัม
แคลเซียม
0.1 %
วิตามินอี
1 มิลลิกรัม / 100 กรัม


คุณสมบัติ
      ในทางอายุรเวท แตงโมมีฤทธิ์เย็น เป็นยาขับปัสสาวะ ได้พลังงานและรสชาติอร่อย บรรเทาอาการหิวกระหายน้ำ ให้สารอาหารและช่วยหล่อลื่น

การใช้ประโยชน์
      รับประทานเนื้อแตงโมได้เลย หรือนำมาคั้นเอาเนื้อแตงโมดื่มเป็นน้ำผลไม้ ก็ได้

คุณประโยชน์
      น้ำแตงโมบรรเทาอาการปวดในช่องท้อง และอาการปวดแสบกระเพาะอาหาร เป็นยาขับปัสสาวะ มีประโยชน์ต่อการรักษาไตและความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ แตงโมให้ความเย็นต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังกระตุ้นกระบวนการการฟื้นฟูร่างกาย

แหล่งอ้างอิง
- หนังสือน้ำผักผลไม้รักษาโรค (ดร.ไดเรน กาลา เขียน , พรพรรณ ศรีคัฒนพรหม แปล)
- รูปภาพสวยๆจากโลกไซเบอร์

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

น้ำผักผลไม้สดรักษาโรค ตอนที่ 6


บีทรูท

บำรุงผิวพรรณ : ดื่มน้ำมันฝรั่ง น้ำขมิ้น หรือ น้ำบีทรูทผสมน้ำแอปเปิ้ล น้ำฝรั่ง และน้ำมะละกอ นอกจากนี้ควรดื่มน้ำแตงกวา และสามารถใช้น้ำแตงกวา และสามารถใช้เนื้อแตงกวาทาผิวเพื่อบำรุงผิวจากภายนอก

บิด : ดื่มน้ำทับทิมและน้ำชมพู่

เบาหวาน : ควรดื่มน้ำแอปเปิ้ล น้ำมันฝรั่ง น้ำแตงกวา น้ำมะนาว น้ำฟักเขียว น้ำแครอท น้ำผักโขม น้ำกะหล่ำปลี และน้ำถั่วแขก

องุ่น


เบื่ออาหาร : ดื่มน้ำมะนาวในตอนเช้า นอกจากนี้สามารถดื่มน้ำมะระขี้นก น้ำแครอท และน้ำขิง

ประจำเดือนมาไม่ปกติ : ดื่มน้ำแครอท น้ำมะละกอ น้ำสับปะรด และน้ำองุ่น หรือน้ำผักประเภทใบชนิดต่างๆ

ปวดศีรษะ : ดื่มน้ำขิง น้ำแครอท น้ำบีทรูท น้ำแตงกวา น้ำมะเขือเทศ น้ำกะหล่ำปลี และน้ำแอปเปิ้ล

ปอดบวม : ควรรักษาเบื้องต้นก่อน จากนั้นให้ดื่มน้ำผสมน้ำขิง น้ำมะนาว และน้ำผึ้ง หรือ ดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำกระเทียมและน้ำหอมใหญ่ นอกจากนี้ควรดื่มน้ำใบกะเพรา น้ำส้ม และน้ำแครอท


ปัญหาเกี่ยวกับคอ : ดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งและน้ำมะนาวในตอนเช้า จิบน้ำสับปะรดและกลั้วคอก่อนกลืน นอกจากนี้ยังสามารถดื่มน้ำแครอทผสมกับน้ำบีทรูทและน้ำแตงกวา ดื่มน้ำอุ่นผสมกับน้ำขิง น้ำกระเทียมและน้ำหอมใหญ่ การดื่มน้ำขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะก็มุณประโยชน์ในการรักษาโรคนี้





ปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก : น้ำฟักทองมีคุณประโยชน์ในการรักษาโรคนี้ หรือดื่มน้ำบีทรูทควบคู่ไปกับน้ำฟักทองก็ได้



ปัญหาเกี่ยวกับไต : ผลไม้ทุกชนิดมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ดังนั้นจึงช่วยบรรเทาอาการไตร้อนและอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ อย่าไรก็ตามน้ำผักผลไม้สดที่ควรดื่มได้แก่ น้ำบีทรูท น้ำแครอท น้ำแตงกวา น้ำแตงญี่ปุ่น น้ำแตงโม น้ำองุ่น น้ำสับปะรด นอกจากนี้อาจเสริมด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน

ปัญหาเกี่ยวกับฟัน : ดื่มน้ำแครอท น้ำแอปเปิ้ล น้ำฝรั่ง น้ำส้ม และน้ำผักประเภทใบ ควรเคี้ยวผักประเภทใบอย่างละเอียดก่อนกลืน นอกจากนี้การดื่มน้ำมะนาวก็มีประโยชน์ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาล


แหล่งอ้างอิง
- หนังสือน้ำผักผลไม้รักษาโรค (ดร.ไดเรน กาลา เขียน , พรพรรณ ศรีคัฒนพรหม แปล)
- รูปภาพสวยๆจากโลกไซเบอร์


วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

น้ำผักผลไม้สดรักษาโรค ตอนที่ 5

คืนความสดชื่นและปรับอุณหภูมิร่างกายให้เย็นลง : ดื่มน้ำแตงโม น้ำสับปะรด และ น้ำแอปเปิ้ล


จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ : ดื่มน้ำผึ้ง น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำมะละกอ น้ำทับทิม น้ำสับปะรด และน้ำ
กระเทียม



ดวงตา : นอกจากวิตามินเอที่มีความจำเป็นต่อดวงตาแล้ว วิตามินอื่นๆก็มีความสำคัญเช่นกัน จึงควรดื่มน้ำผักผลไม้ที่มีวิตามินและแคลเซียม ดื่มน้ำแครอทผสมน้ำผักประเภทต่างๆ  และลดการบริโภคน้ำตาล

ดีซ่าน : ดื่มน้ำมะระขี้นกในตอนเช้าขณะท้องว่าง ดื่มน้ำฝักเขียวผสมน้ำแครอท น้ำบีทรูท น้ำแตงกวา น้ำ
แอปเปิ้ล น้ำมะละกอ ผสมน้ำขมิ้นเขียว น้ำองุ่น และน้ำส้ม การเคี้ยวอ้อยก็มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคนี้ ควรบริโภคอาหารที่ปราศจากไขมันและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ตกเลือดหรือเลือดไหลไม่หยุด : ดื่มน้ำแอปเปิ้ล น้ำมะนาว และน้ำแครอท



ติดเชื้อจากการสัมผัส : ดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำมะนาวและน้ำผึ้ง 1 ช้อนชาขณะท้องว่าง  ดื่มน้ำ 1 แก้วผสมน้ำกระเทียมและน้ำหอมใหญ่อย่างละ 1 ช้อนชา หรือน้ำแครอทผสมน้ำส้ม

ท้องผูก : รับประทานผักและผลไม้สดหรือดื่มน้ำผักผลไม้สด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นปกติ ดื่มน้ำผักโขมและน้ำแครอท หรือดื่มน้ำฝรั่งผสมน้ำแตงกวาและน้ำแอปเปิ้ล บางรายดื่มน้ำมะเดื่อ น้ำฝรั่งและน้ำส้ม

ท้องร่วง : ดื่มน้ำแอปเปิ้ล น้ำกระเทียม น้ำขมิ้นเขียว น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำบีทรูท หรือน้ำสับปะรด และพักผ่อนให้เพียงพอ

นอนไม่หลับ : ดื่มน้ำแอปเปิ้ลผสมน้ำฝรั่ง น้ำมันฝรั่งหรือน้ำแครอทผสมน้ำผักโขม หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำผักผลไม้ใดๆหลังหกโมงเย็น

นิ่วในไต : ดื่มน้ำแครอท น้ำแตงกวา น้ำบีทรูท น้ำแอปเปิ้ล และน้ำฟักทอง น้ำมะพร้าวอ่อนก็มีประโยชน์ในการรักษาโรคนี้ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำผักประเภทใบ การดื่มน้ำผ่านแม่เหล็กมีผลดียิ่งต่อโรคนิ่วในไต


อ่านต่อใน >> น้ำผักผลไม้สดรักษาโรค ตอนที่ 6


แหล่งอ้างอิง
- หนังสือน้ำผักผลไม้รักษาโรค (ดร.ไดเรน กาลา เขียน , พรพรรณ ศรีคัฒนพรหม แปล)
- รูปภาพสวยๆจากโลกไซเบอร์

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

น้ำผักผลไม้สดรักษาโรค ตอนที่ 4


ควบคุมน้ำหนัก : ดื่มน้ำแครอท น้ำแตงกวา และน้ำมะเขือเทศเพื่อลดน้ำหนัก ลดปริมาณอาหารที่บริโภค ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากต้องการเพิ่มน้ำหนักให้รับประทานผลไม้แห้งหรือดื่มน้ำผลไม้สด

ต้นกะเพรา




ความดันโลหิตสูง : ดื่มน้ำกระเทียม น้ำใบกะเพรา น้ำคั้นต้นกล้าข้าวสาลี น้ำแครอท น้ำบีทรูท น้ำแตงกวา น้ำมะละกอ น้ำอัลฟัลฟา และน้ำส้ม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน เช่น เนย ไขมันสัตว์ หรือไขมันจากพืชต่างๆ



หอมใหญ่

ความผิดปกติทางประสาท : ดื่มน้ำผักประเภทใบและถั่วแขก

คอตีบ : ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน จากนั้นให้ดื่มน้ำแอปเปิ้ลโดยกลั้วคอก่อนกลืน ดื่มน้ำอุ่น ผสมน้ำกระเทียมและน้ำหอมใหญ่

คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง : ดื่มน้ำใบกะเพรา น้ำกระเทียม และน้ำหอมใหญ่ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีกรดไขมัน




คืนความกระชุ่มกระชวย : น้ำผักผลไม้สดทุกชนิดมีประโยชน์ในการคืนความกระชุ่มกระชวยดั่งวัยหนุ่มสาวให้กับร่างกาย ดังนั้นเราควรดื่มน้ำผักผลไม้สดให้มาก โดยเฉพาะน้ำแครอท น้ำส้ม และน้ำผักโขม และ ดื่มน้ำต้นกล้าข้าวสาลีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในทางอายุรเวท การดื่มน้ำมะขามป้อมมีประโยชน์อย่างยิ่งในการคืนความกระชุ่มกระชวย





แหล่งอ้างอิง
- หนังสือน้ำผักผลไม้รักษาโรค (ดร.ไดเรน กาลา เขียน , พรพรรณ ศรีคัฒนพรหม แปล)
- รูปภาพสวยๆจากโลกไซเบอร์

น้ำผักผลไม้สดรักษาโรค ตอนที่ 3





ไข้ : หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ย่อยยากระหว่างเป็นไข้ ควรดื่มน้ำผักผลไม้เพื่อสงวนพลังงานในการย่อยอาหาร ดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งและน้ำมะนาวในตอนเช้า ดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำกระเทียมและน้ำหอมใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถดื่มน้ำกะหล่ำปลี น้ำฟักเขียว น้ำกระเพรา น้ำทับทิม และน้ำส้ม อีกทั้งควรพักผ่อนอย่างเต็มที่






ไข้รากสาดน้อย(ไทฟอยด์) : ดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งและน้ำมะนาวในตอนเช้า หรือดื่มน้ำองุ่นผสมกับน้ำกระเทียมและน้ำหอมใหญ่อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ ยอกจากนี้ควรดื่มน้ำทับทิมผสมน้ำส้มและน้ำใบกระเพรา





ไข้หวัด : ควรดื่มน้ำมะนาวอุ่นๆ หรือดื่มน้ำขิง น้ำส้ม น้ำแครอท น้ำหัวไชเท้า น้ำกระเทียม เป็นต้น การอบไอน้ำก็เป็นประโยชน์ต่อคนที่เป็นไข้หวัด








ไข้หวัดใหญ่ : ดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งและน้ำมะนาวในตอนเช้า หรือดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำกระเทียมและน้ำหอมใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถดื่มน้ำแครอทและน้ำส้มได้



คลื่นไส้หรืออาเจียน : อาการนี้เกิดจากหลายสาเหตุ หากเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่ไม่เหมาะสม ควรงดอาหาร 1 วัน และดื่มน้ำทับทิม น้ำมะละกอ น้ำมะนาว น้ำส้ม น้ำสับปะรด และน้ำมะเขือเทศ


- หนังสือน้ำผักผลไม้รักษาโรค (ดร.ไดเรน กาลา เขียน , พรพรรณ ศรีคัฒนพรหม แปล)
- รูปภาพสวยๆจากโลกไซเบอร์

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

น้ำผักผลไม้สดรักษาโรค ตอนที่ 2

             การรักษาโรคด้วยการดื่มน้ำผักผลไม้สดต้องทำความเข้าใจโรคอย่างชัดเจนก่อนเริ่มต้นรักษา วางแผนอย่างรอบคอบ และปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยความกระตือรือร้น ตัวอย่างการบำบัดโรคด้วยการดื่มน้ำผักผลไม้สดมีดังนี้

กระดูกแตกร้าว : อันดับแรกควรเข้ารับการผ่าตัดกระดูกจากนั้น เพื่อเสริมสร้างแคลเซียมให้กับกระดูกอย่างรวดเร็วควรดื่มน้ำผักผลไม้ 6 ชนิดผสมเข้าด้วยกัน ได้แก่ น้ำอัลฟัลฟา* น้ำผักโขม น้ำโหระพา น้ำลูกซัค* น้ำใบมะรุม และน้ำเมล็ดบิชอบ นอกจากนี้ยังสามารถดื่มน้ำมะขามป้อม น้ำแตงโม น้ำแครอท น้ำฝรั่ง และน้ำมะละกอ ที่สำคัญควรดูแลอวัยวะส่วนที่หักให้ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนอย่างเพียงพอ






กระดูกพรุน : รับประทานอาหารที่อุดมด้วย แคลเซียม วิตามินดี และวิตามินซีสูง บริโภคผักประเภทใบ หัวไชเท้า กะหล่ำปลี และถั่วงอก










กระตุ้นความต้องการทางเพศ : แนะนำให้ดื่มน้ำแครอทผสมน้ำผักโขม น้ำบีทรุท น้ำแตงกวาผสมน้ำแอปเปิ้ล น้ำฟักทอง เป็นต้น








เกาต์ : ดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งและน้ำมะนาว หรือ ดื่มน้ำกระเทียม น้ำหอมใหญ่อย่างละ 1 ช้อนชา และดื่มน้ำอุ่นตาม ควรดื่มน้ำถั่วแขกและน้ำเชอรี่เป็นประจำ นอกจากนี้น้ำมันฝรั่งก็มีคุณประโยชน์เช่นกัน ควรหลีกเลี่ยงการดื่มไวน์และเนื้อสัตว์ หรือ อาหารที่มีโปรตีนสูง










ไขข้ออักเสบ : ดื่มน้ำแครอท น้ำแตงกวา น้ำกะหล่ำปลี น้ำองุ่น น้ำมะระขี้นก น้ำแอปเปิ้ล และน้ำมะพร้าวอ่อน น้ำคั้นต้นกล้าข้าวสาลีก็มีประโยชน์ในการรักษาโรคนี้








เพิ่มเติม*


ต้นอัลฟัลฟา (Alfalfa)
ลูกซัค (Fenugreek seed)








อ่านต่อใน >> น้ำผักผลไม้สดรักษาโรค ตอนที่ 3


แหล่งอ้างอิง
- หนังสือน้ำผักผลไม้รักษาโรค (ดร.ไดเรน กาลา เขียน , พรพรรณ ศรีคัฒนพรหม แปล)
- รูปภาพสวยๆจากโลกไซเบอร์

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

น้ำผักผลไม้สดรักษาโรค ตอนที่ 1 เกริ่นนำ



         ในร่างกายแต่ละวันมีเซลล์จำนวนมหาศาลและเม็ดเลือดแดงมากกว่าพันล้านหน่วยที่ตายลง อาหารจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการซ่อมแซมส่วนที่สูญเสียไป หากเป็นอาหารตามธรรมชาติที่ประกอบด้วยน้ำผักผลไม้สด การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายก็จะรวดเร็วขึ้น ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในกรณีของผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอหรือผู้สูงอายุ

         สารอาหารที่ได้รับจากอาหารสดและน้ำผักผลไม้สดจำเป็นต่อการรักษาสมดุลในการสร้างและลดการสึกหรอของเม็ดเลือดแดงและเซลล์ น้ำตาลและสารอาหารอื่นๆที่ได้รับจากอาหารสดและน้ำผักผลไม้สดนั้นย่อยง่ายและถูกดูดซึมเข้าสู่เลือดอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะไปเริ่มต้นการซ่อมแซมส่วนที่ซึกหรอของร่างกาย

         อาหารที่ประกอบด้วยผักและผลไม้ (ที่ไม่ใช่น้ำผักผลไม้สด) ยังมีความ หยาบ กากอาหาร และเส้นใย ซึ่งเป็นภาระให้กับระบบย่อย แม้ในร่างกายที่มีสุจภาพดี มีระบบย่อยที่แข็งแรง ก็มีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารและดูดซึมเพียงร้อยละ 35 จากส่วนผสมของผักที่รับประทานเข้าไป ยิ่งในร่างกายของผู้ป่วย ระบบย่อยยิ่งทรุดโทรมลงก็จะดูดซึมได้น้อยมาก ดังนั้นร่างกายของผู้ป่วยอาจไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นจากผักในปริมาณที่เพียงพอจึงควรดื่มน้ำผักผลไม้สดแทน เพราะร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารที่อยู่ในน้ำผักผลไม้ได้ถึงร้อยละ 95

   

    แม้ในทางการแพทย์จะมีการให้วิตามินและเอนไซม์สังเคราะห์กับคนไข้ แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ขณะที่วิตามินและเอนไซม์จากธรรมชาติที่ได้รับจากน้ำผักผลไม้สดให้ผลเป็นที่น่าพอใจ





อ่านต่อใน >> น้ำผักผลไม้สดรักษาโรค ตอนที่ 2

แหล่งอ้างอิง
- หนังสือน้ำผักผลไม้รักษาโรค (ดร.ไดเรน กาลา เขียน , พรพรรณ ศรีคัฒนพรหม แปล)
- รูปภาพสวยๆจากโลกไซเบอร์

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ครีมกันแดด (Sunscreen)



                      แต่ละคนจะมีสภาพผิวที่แตกต่างกันออกไป การเลือกครีมกันแดดจึงต้องมีความเหมาะสมกับผิวของตนเอง นองจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการใช้ชีวิตประจำวัน และ กิจกรรมต่างๆที่จะต้องทำด้วย มีคำแนะนำในการเลือกใช้ครีมกันแดดดังนี้

เลือกครีมที่ป้องกันได้ทั้ง UVB และ UVA
  โดยดูจากค่า SPF และค่า PA
- SPF (Sun Protective Factor) เป็นตัวบ่งบอกว่าป้องกัน UVB ได้กี่เท่า โดยเทียบกับผิวที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด ผิวคนไทยที่ไม่ได้ทาครีมกันแดดจะเกิดการไหม้แดดหลังจากตากแดดประมาณ 15-30 นาที
- PA (Protection of UV-A) เป็นค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVA ค่า PA แบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ PA+ (ป้องกันได้ 2-4 เท่า) , PA++ (ป้องกันได้ 5-6 เท่า) , PA+++ (ป้องกันได้ 8-9 เท่า)

* ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงสามารถกันแสงแดดได้ยาวนานกว่าค่า SPF ต่ำ หมายความว่าปริมาณรังสี UVB ที่ผ่านไปถึงผิวก็มีค่าน้อยลง

สำหรับผู้ที่มีผิวขาว จะเกิดผิวไหม้ง่ายมากหลังสัมผัสกับแสงแดดจึงจำเป็นต้องใช้กันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ เช่น SPF 45-60
สำหรับผิวคล้ำ ผิวชนิดนี้จะมีเมลานินอยู่มากกว่าคนผิวขาว จึงสามารถทนต่อแสงแดดได้นานกว่า แนะนำครีมกันแดดชนิดที่มีค่า SPF ปานกลาง-สูง เช่น SPF 30-60 แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นหรือกิจกรรมของแต่ละคนด้วย

** กรณีเป็นผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย อาจจะเลือกใช้ Physical Sunscreen สารในกลุ่มนี้จะมีผลการระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่าสารกลุ่ม Chemical Sunscreen แต่มีข้อด้อยคือ ถ้าใช้ SPF สูงๆจะทำให้ผิวดูขาววอก

วิธีการทดสอบการแพ้ครีมกันแดด
         แนะนำให้ทากันแดดบริเวณใต้ท้องแขนทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วสังเกตว่ามีผื่นคัน บวมแดงหรือไม่ ถ้ามีอาการดังกล่าวแสดงว่าเกิดอาการแพ้ แต่บางรายการปรากฎอาการแพ้อาจใช้ระยะเวลานาน จึงควรต้องรอดูอาการแพ้ถึง 24 ชม. หรืออาจจะถึง 72 ชม.

แหล่งที่มา
- วารสารร้านยา fascino vol.66 /March-April 2011
- รูปภาพสวยๆจากโลกไซเบอร์



สารสื่อประสาท (Neurotransmitter)


              การส่งกระแสประสาท ไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ถัดไป จำเป็นจะต้องใช้สารสื่อประสาท(Neurotrasmitter) ไปจับกับตัวรับ(receptor) ของเซลล์ประสาทที่อยู่ถัดไป เซลล์ประสาทที่เป็นตัวหลั่งสารสื่อประสาทจะเรียกว่า pre-synaptic neuron(เรียกง่ายๆก็คือเซลล์ที่อยู่ก่อน) ส่วนเซลล์ประสาทที่สารสื่อประสาทไปจับจะเรียกว่า post-synaptic neuron(เซลล์ที่อยู่ถัดไป)  เมื่อการส่งกระแสประสาทผ่านไปก็จะไปมีผลยังอวัยวะต่างๆที่โดนกระตุ้นนั่นเอง

ชนิดของสารสื่อประสาท
โดยทั่วไปแบ่งออกได้ดังนี้

1. สารสื่อประสาทกลุ่ม Chrolinergic ได้แก่ สารพวก Acetylcholine
2. สารสื่อประสาทกลุ่ม Adrenergic  ได้แก่ สารพวก nor-adrenaline , adrenaline และ dopamine
3. Serotonin (5 - hydroxytryptamine; 5 - HT) มีกรดอะมิโนพวก Tryptophan เป้นสารตั้งต้น
4. สารสื่อประสาทที่เป็นกรดอะมิโน ได้แก่ สารพวก GABA , Glycine , Glutamate และ Aspartate
5. Neuropeptides เช่น Opioid peptide (เป็นสารจำพวกระงับความเจ็บปวด) , Supstance P (เป็นสารนำความเจ็บปวด)
6. Histamine


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดีดี
- http://www.bcnlp.ac.th/Anatomy/page/apichat/nervous/page/neuro-transmitter.html
- รูปภาพสวยๆจากโลกไซเบอร์



โครงสร้าง Adrenaline

โครงสร้าง Dopamine